คลังเรื่องเด่น
-
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันศุกร์ที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๗
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันศุกร์ที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๗ -
พอใจอะไรง่าย ๆ แล้วชีวิตจะมีความสุข
พระอาจารย์กล่าวกับโยมท่านหนึ่งว่า "พอใจอะไรง่าย ๆ แล้วจะมีความสุขขึ้น เห็นอะไรแล้วไม่พอใจเลยสักอย่างก็จะกลุ้มไปเรื่อย"
..........................................
พระครูวิลาศกาญจนธรรม, ดร.
ผู้ก่อตั้งสำนักสงฆ์เกาะพระฤๅษี
..........................................
#รู้ว่าดีก็ทำ #รู้ว่าชั่วก็ละ #ไม่เกาะทั้งดีทั้งชั่ว -
หลวงปู่บัวเกตุ ปทุมสิโร "ภาวนา 2 อย่าง (เพ่งดูจิต หรือ พิจารณากาย)
หลวงปู่บัวเกตุ ปทุมสิโร "ภาวนา 2 อย่าง (เพ่งดูจิต หรือ พิจารณากาย)
*************
ที่มา https://www.youtube.com/@51lamon -
ข่าวชุมชนคุณธรรมวัดท่าขนุน (พระอาจารย์เล็ก) เดือนพฤศจิกายน ๒๕๖๗
ชุมชนคุณธรรมออนไลน์ Palungjit.org
เครือข่ายชุมชนคุณธรรมวัดท่าขนุน
ขอรวบรวมข่าวกิจกรรมการดำเนินงานของ
พระครูวิลาศกาญจนธรรม, ดร. (พระอาจารย์เล็ก)
เจ้าอาวาสวัดท่าขนุน อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี
เพื่อให้ทุกท่านได้โมทนาบุญในการทำงานของพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนา
และเพื่อให้ทุกท่านได้ศึกษารูปแบบการดำเนินงานของพระอาจารย์
ซึ่งท่านเป็นต้นแบบการทำงานของ ชุมชนคุณธรรมออนไลน์ Palungjit.org
ข่าวการดำเนินงาน เดือนพฤศจิกายน ๒๕๖๗ -
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันพฤหัสบดีที่ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๖๗
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันพฤหัสบดีที่ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๖๗ -
"ภาวนาพุทโธดีอย่างไร" (ท่านพ่อลี ธมฺมธโร)
.
"ภาวนาพุทโธดีอย่างไร"
" .. เหตุนั้นจึงว่า "สพฺพุทฺธานุภาเวน อานุภาพแห่งพระพุทธเจ้า ย่อมกำจัดเวรภัยได้จริง" เมื่อใครหมั่นมาระลึกถึงพระคุณของพระองค์ เช่น "พุทโธ ๆ" อยู่เสมอแล้ว ผู้นั้นจะมีเวรภัยได้อย่างไร
"ไปอยู่กับคน ๆ ก็ต้องรัก อยู่กับผี ๆ ก็ไม่เกลียด อยู่กับเทวดา ๆ ก็ชอบจะอยู่ที่ไหน ๆ เขาก็โปรยข้าวตอกดอกไม้ให้" การภาวนา "พุทโธ ๆ" ย่อมมีอานิสงส์ดีอย่างนี้ .. "
"ร้อยรส บทพระธรรม"
(ท่านพ่อลี ธมฺมธโร) -
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันพุธที่ ๓๐ ตุลาคม ๒๕๖๗
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันพุธที่ ๓๐ ตุลาคม ๒๕๖๗ -
"สถานที่สร้างกรรม" (หลวงพ่อทูล ขิปฺปปัญฺโญ)
.
"สถานที่สร้างกรรม"
" .. โลกมนุษย์นี้เป็นสถานที่สร้างกรรม โดยเฉพาะ คนที่เกิดมาในโลกนี้มีการสร้างกรรมกันหมดทุกคน "พระพุทธเจ้าสร้างบารมี ก็มาสร้างในโลกมนุษย์" บารมีที่เต็มเปี่ยมสมบูรณ์ก็เต็มอยู่ในโลกมนุษย์นี้ มีดวงตาเห็นธรรม มีสติปัญญาละอาสวกิเลส ตัณหา ก็ละกันในโลกมนุษย์นี้
หรือ "พระอรหันต์อริยสาวกก็เช่นเดียวกัน ก็ได้มาบำเพ็ญบารมีอยู่ในโลกมนุษย์นี้" จนได้บรรลุมรรคผลนิพพาน ก็ได้บรรลุธรรมในโลกมนุษย์นี้ "หรือผู้จะไปตกนรกอเวจี ไปเกิดเป็นเปรต เกิดเป็นสัตว์ดิรัจฉาน เป็นอสุรกาย ก็ทำกรรมชั่วอยู่ในโลกมนุษย์นี้เช่นกัน" .. "
"โลกมนุษย์เป็นสถานที่สร้างกรรม"
(หลวงพ่อทูล ขิปฺปปัญฺโญ) -
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันอังคารที่ ๒๙ ตุลาคม ๒๕๖๗
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันอังคารที่ ๒๙ ตุลาคม ๒๕๖๗ -
สาเหตุที่แท้จริงของความกลัว คือ กลัวตาย
เรื่องความกลัวนี้ว่ากันไม่ได้ เพราะว่าถ้าเราพิจารณาไม่ตลอดก็จะกลัวอยู่นั่นแหละ กลัวไม่เลิก อาตมาพิจารณาอยู่เป็นปี ๆ ว่าความกลัวมาจากไหน ตามดูอยู่เป็นปี ๆ ในที่สุดก็สรุปได้ว่ากลัวตาย กลัวตายแล้วเราไปคิดล่วงหน้าก็ยิ่งกลัวเข้าไปใหญ่ ถ้าหยุดคิดได้ก็จะเลิกกลัวไปเอง
ไปนั่งกรรมฐานในป่าช้า พอดึก ๆ หน่อย ๔-๕ ทุ่ม งูก็ออกหากิน เสียงเลื้อยมาตามใบไม้แกรก ๆ ฟังดูก็รู้ว่าตัวประมาณนิ้วชี้เท่านั้นแหละ ไม่ได้ใหญ่โตอะไรหรอก ก็นั่งภาวนาต่อไป แวบเดียวเท่านั้นเอง ใจบอกว่า "ถึงตัวเท่านิ้วชี้ แต่ถ้ามีพิษก็กัดเราตายเหมือนกันนะ" ความรู้สึกเริ่มหลอกตัวเอง รู้สึกว่างูตัวนั้นใหญ่ขึ้นอีกหน่อยหนึ่ง แล้วก็คิดแบบนี้ไปเรื่อย ๆ "จะใหญ่กว่าที่เราคิดอีกนิดหนึ่งกระมัง ?" จากที่ใหญ่เท่านิ้วชี้นิ้วโป้ง ตอนนี้ชักใหญ่เท่าถ่านไฟฉายแล้ว กลัวมากขึ้นไปเรื่อย ๆ
ท้ายสุดยังไม่ทันจะเห็นงูเลย รู้สึกว่าน่าจะโตสักเสาเรือน..! ท้ายสุดก็ให้รู้เรื่องกันไปเลยวะ เปิดกลดออกไปส่องไฟดู โธ่เอ๋ย...งูปล้องฉนวน ตัวขาว ๆ ดำ ๆ เป็นท่อน ๆ ตัวใหญ่กว่านิ้วก้อยนิดเดียว ยาวสักศอกกว่า ๆ เอง ก็เลยมาตามดูว่า ตกลงว่าเรากลัวอะไร สรุปได้ว่ากลัวตาย กลัวงู... -
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันจันทร์ที่ ๒๘ ตุลาคม ๒๕๖๗
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันจันทร์ที่ ๒๘ ตุลาคม ๒๕๖๗ -
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันอาทิตย์ที่ ๒๗ ตุลาคม ๒๕๖๗
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันอาทิตย์ที่ ๒๗ ตุลาคม ๒๕๖๗ -
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันเสาร์ที่ ๒๖ ตุลาคม ๒๕๖๗
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันเสาร์ที่ ๒๖ ตุลาคม ๒๕๖๗ -
วิบากกรรม จากการทำไม่ดีกับพระพุทธรูป / หลวงปู่ขาว
วิบากกรรม จากการทำไม่ดีกับพระพุทธรูป
สมัยที่หลวงปู่ขาว อนาลโย มาอยู่วัดถ้ำกลองเพลใหม่ๆ นั้น ในถ้ำมีพระพุทธรูปขนาดต่างๆมากมาย
ทั้งที่ซ้อนไว้ในที่ลับตาคน
ทั้งที่ประดิษฐานในถ้ำอย่างเปิดเผยแต่ดั้งเดิม
ที่คนนำมาประดิษฐานรวมกันไว้ในถ้ำมีมากมาย
แม้พระพุทธรูปทองคำ เงิน นาก ทองสัมฤทธิ์
ก็มีไม่น้อย “ แต่ถูกมารศาสนาเอาไปกินเรียบวุธ
ไม่มีเหลือมานานแล้ว ”
เหลือแต่พระพุทธรูปธรรมดาที่เห็นกันอยู่เท่านี้
ตามธรรมดาพระพุทธรูปทั้งมวล
ย่อมเป็นที่กราบไหว้บูชาของชาวพุทธทั่วไป
ไม่มีใครถือเป็นเสนียดจัญไรให้โทษทุกข์แต่อย่างใด แม้จะเป็นคนดีคนชั่วขนาดไหน
เมื่อมาเจอพระพุทธรูปเข้า
จิตใจย่อมอ่อนโยน เคารพบูชา
ไม่ถือเป็นอริศัตรูแต่อย่างใด
พระพุทธรูปที่ถ้ำกลองเพลนี้ก็เช่นเดียวกัน
พวกนายพรานที่มาพักค้างคืนที่ถ้ำ
ต่างก็กราบไหว้บูชา และขออธิฐาน
ขอขมาลาโทษในสิ่งที่ตนทำ
ในบรรดาพรานที่มาพักที่ถ้ำกลองเพล
มีนายพรานพิสดารคนหนึ่งชื่อ นายพรานบุญหนา (ท่านหลวงตามหาบัวเรียกว่า นายบาปหนา)
มีวันหนึ่ง พรานบุญหนาเที่ยวล่าสัตว์ไปตั้งแต่เช้าจนค่ำ แต่ไม่เจอสัตว์ใดๆเลยแม้แต่ตัวเดียว
รู้สึกหงุดหงิด เพลียทั้งกายทั้งใจ... -
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันศุกร์ที่ ๒๕ ตุลาคม ๒๕๖๗
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันศุกร์ที่ ๒๕ ตุลาคม ๒๕๖๗ -
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันพฤหัสบดีที่ ๒๔ ตุลาคม ๒๕๖๗
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันพฤหัสบดีที่ ๒๔ ตุลาคม ๒๕๖๗ -
ทำใจให้เหมือนบ่อน้ำลึก
ทำใจให้เหมือนบ่อน้ำลึก เปลือกนอกของเราเหมือนกับน้ำปากบ่อ กระเพื่อมไปตามแรงลมแรงอะไรต่าง ๆ แต่ว่าก้นบ่อให้นิ่งอยู่เสมอ ถ้าทำได้อย่างนั้นแล้วจะสบาย
สังเกตดูสิท่านที่ทำได้ ไม่ว่าอยู่ในอิริยาบถไหน ท่านจะมีสติอยู่เสมอ ไม่ว่าเรื่องอะไรเข้ามา ท่านจะสามารถแยกแยะออกได้อย่างสะดวกและง่าย ในเมื่อนิ่งก็สามารถสะท้อนได้อย่างแจ่มชัด เหมือนกับน้ำจริง ๆ
...................................
พระครูวิลาศกาญจนธรรม, ดร. วัดท่าขนุน
www.watthakhanun.com -
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันพุธที่ ๒๓ ตุลาคม ๒๕๖๗
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันพุธที่ ๒๓ ตุลาคม ๒๕๖๗ -
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันอังคารที่ ๒๒ ตุลาคม ๒๕๖๗
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันอังคารที่ ๒๒ ตุลาคม ๒๕๖๗ -
ตั้งใจว่าจะบวชสิบวัน ถือว่าน้อยเกินไปหรือเปล่าครับ ?
ถาม : ตั้งใจว่าจะบวชสิบวัน ถือว่าน้อยเกินไปหรือเปล่าครับ ?
ตอบ : การทำความดีไม่ถือว่าน้อยนะ หลวงพ่อวัดท่าซุงท่านเคยเปรียบเอาไว้ว่า บวชน้อยแต่ทำความดีก็เหมือนกับเพชร ถึงเม็ดเล็กก็มีค่าสูง บวชมากถ้าทำแต่ความชั่วก็เหมือนกับขี้ ยิ่งกองใหญ่ก็ยิ่งเหม็นมาก เพราะฉะนั้น..สำคัญอยู่ที่การปฏิบัติของเรา
ถ้านับอานิสงส์แล้วทันทีที่ ญัตติ พอเขาบอกว่า อุปสัมปันโน สังเฆนะ บัดนี้ได้รับการอุปสมบทเป็นสงฆ์แล้ว ในวินาทีนั้น อานิสงส์ ๖๐ กัปป์เป็นของคุณแน่นอน หลังจากนั้นแล้วอยู่ต่อ จะเพิ่มขึ้นหรือลดลงอยู่ที่การปฏิบัติของเรา ถ้าทำความดีก็บวกเพิ่มขึ้นไป ถ้าทำความชั่วก็ขาดทุนไปเรื่อย เพราะฉะนั้น..คุณบวชเสร็จปุ๊บ จะสึกเดี๋ยวนั้นเลยก็ได้ เพราะอานิสงส์ได้เต็มแล้ว
...................................
พระครูวิลาศกาญจนธรรม, ดร. วัดท่าขนุน
www.watthakhanun.com -
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันจันทร์ที่ ๒๑ ตุลาคม ๒๕๖๗
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันจันทร์ที่ ๒๑ ตุลาคม ๒๕๖๗ -
"ปัจจุบันอย่างไร อนาคตอย่างนั้น" (หลวงปู่ฝั้น อาจาโร)
.
"ปัจจุบันอย่างไร อนาคตอย่างนั้น"
" .. เรามีบุญก็มีเดี๋ยวนี้ เรามีกรรมมีกุศลก็มีเดี๋ยวนี้ "เราไม่ต้องคำนึงถึงอดีต อนาคต" อนาคตคนเรานั้นจะไปอยู่ตรงไหนเราก็รู้ไม่ได้ "อดีตนั้นล่วงมาแล้ว เราก็เลยมาแล้ว เวลานี้เราก็ต้องดูในปัจจุบันนี้" ท่านบอกว่าอย่างนี้
"ปัจจุบันนี้เป็นอย่างไร อนาคตก็เป็นอย่างนั้น" ที่เราทั้งหลายพากันรู้จักว่าการทำบุญการกุศลนั้นมันไม่ได้อยู่ในต้นไม้ภูเขาเหล่ากอ ไม่ได้อยู่ในฟ้าอากาศ ท่านบอกไว้ว่า "กามาวจรํ กุสลํ จิตตํ อุปปนฺนํ โหติ" จิตเรานี้แหละเป็นตัวกุศล อกุศล ตัวบุญนั้นเป็นอย่างไร ก็ตัวของเราที่นั่งอยู่นี้แหละ"
ลักษณะของบุญนั้น "ได้แก่ใจของเราดี ใจของเรามีความสุข ใจของเรามีความสบาย ใจของเรามีความเยือกเย็น" ก็นี่เวลานี้ใจของเราสบายหรือยัง พากันตรวจดูซิ ต่างคนต่างฟังเทศน์อย่าไปฟังแต่เสียง ต้องฟังถึงรูปธรรมนามธรรมของเรา .. "
"การฟังและการปฏิบัติ" (หลวงปู่ฝั้น อาจาโร)
วัดป่าอุดมสมพร สกลนคร ๓ กันยายน ๒๕๑๑
ม.ร.ว. ส่งศรี เกตุสิงห์ ถอดจากแถบบันทึกเสียง -
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันอาทิตย์ที่ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๖๗
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันอาทิตย์ที่ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๖๗ -
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันเสาร์ที่ ๑๙ ตุลาคม ๒๕๖๗
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันเสาร์ที่ ๑๙ ตุลาคม ๒๕๖๗ -
สังฆเภท - อนันตริยกรรม ที่หลงทำกันง่าย ในยุคนี้
สังฆเภท ทำให้สงฆ์แตกกัน ทำให้เสื่อม
และปิดมรรค ผล นิพพาน
“ ท่านพุทธบริษัททั้งหลาย..
ท่านจะทำกรรมอะไรที่ท่านอดทนไม่ได้
ทำไปเถอะขออย่างเดียว อย่าไปเผลอทำ อนันตริยกรรมก็แล้วกัน อนันตริยกรรมนั้น ถ้าทำลงไปแล้วเสื่อมจากมรรคผล นิพพาน ตั้งอยู่ในฐาน ปาราชิก คือ ผู้พ่ายแพ้ในพระพุทธศาสนา อย่าทำมันบาปหนัก
๑. ฆ่าบิดา
๒. ฆ่ามารดา
๓. ทำร้ายพระพุทธเจ้าให้ห้อพระโลหิตขึ้น
๔. ฆ่าพระอรหันต์
๕. ทำลายสงฆ์ให้แตกกัน
ระวังนะ เวลาพระวัดใดวัดหนึ่ง ขัดผลประโยชน์กันแตกสามัคคีกัน ทะเลาะเบาะแว้งกันญาติโยมอย่าไปสนับสนุนฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเดี๋ยวจะกลายเป็น "อนันตริยกรรม" ไม่รู้ตัว เช่นอย่าง หลวงพ่อวัดใต้ หลวงพ่อวัดเหนือ ต่างก็มีหน้าที่กันเยอะแยะขัดผลประโยชน์กันแล้วก็ไปทะเลาะถีบเถียงกัน ต่างคนก็ต่างมีลูกศิษย์ ทั้งพระทั้งโยมแตกกันเป็นพรรคเป็นพวก ยกพวกขึ้นมารบกันถ้าพระสงฆ์แตกสามัคคีกันเป็นกลุ่มตั้งแต่ฝ่ายละ ๔ รูปขึ้นไป นั่นเป็น สังฆเภท
ในเมื่อ "สังฆเภท" แล้วก็เป็น อนันตริยกรรม ทำลายสงฆ์ให้แตกกัน บาปนัก บาปหนาเพราะฉะนั้นการกระทำกรรม ให้ระวังอนันตริยกรรมให้มากๆ... -
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันศุกร์ที่ ๑๘ ตุลาคม ๒๕๖๗
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันศุกร์ที่ ๑๘ ตุลาคม ๒๕๖๗ -
อานิสงส์การถวายกฐินนั้นไม่มีประมาณ
ช่วงนี้เป็นช่วงของกาลกฐิน คำว่ากาลนั้น กาละ แปลว่า เวลา เวลาของกฐิน กฐินจริง ๆ ความหมายก็คือ ผ้าสะดึง ผ้าที่ขึง เครื่องขึงที่ยึดผ้าให้ตึง จะได้ประกอบให้เป็นสิ่งโน้นสิ่งนี้ได้ ไม่ว่าจะเย็บปักถักร้อยอะไรก็ทำได้ง่าย
กาลกฐินเป็นเรื่องกำหนดตามระเบียบพิธีของสงฆ์ โดยเฉพาะพระภิกษุที่จำพรรษาแล้วเป็นเวลาครบถ้วน ๓ เดือน สมัยก่อนนั้นพระพุทธเจ้าท่านอนุญาตให้เปลี่ยนจีวรได้ คราวนี้ว่าการเปลี่ยนจีวรนี้ต้องสมเหตุสมผล คือว่าเป็นผู้ที่จีวรเก่าจริง ๆ ชนิดที่เรียกว่าหมดสภาพแล้ว ก็อนุญาตให้เปลี่ยนได้ ท่านให้เสาะหาผ้าที่จะมาทำจีวร
ภายหลังการเสาะหาผ้าเต็มไปด้วยความยากลำบาก นางวิสาขาก็ดี อนาถบิณฑิกเศรษฐีก็ดี จึงทูลขอให้รับคหปติจีวร คือจีวรที่มีผู้น้อมมาถวายได้ คราวนี้พอจำพรรษาแล้วครบสามเดือนแล้วมีสิทธิรับกฐินได้ กาลกฐิน คือ เวลาของการรับกฐิน เริ่มตั้งแต่แรมหนึ่งค่ำเดือนสิบเอ็ด ไปสิ้นสุดเอากลางเดือนสิบสอง เป็นเวลาหนึ่งเดือนเต็ม
ช่วงระยะนี้วัดไหนก็ตามที่มีเจ้าภาพ ตั้งใจว่าจะถวายกฐิน ก็จะจัดให้ถวายกฐินขึ้นมา คราวนี้กฐินเป็นงานบุญพิเศษ ความจริงกฐินเป็นสังฆทานเหมือนกัน แต่ว่าจำกัดด้วยเวลา คือ... -
"อุปนิสัย" (หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน)
.
"อุปนิสัย"
" .. คำว่า "อุปนิสัย" นี้คือ "เชื้อแห่งคุณงามความดีอันสำคัญที่อยู่ภายในใจ อุปนิสัยฝังแล้ว ที่จะสำเร็จมรรคผลนิพพานมีอยู่เต็มที่แล้ว" เป็นแต่เพียงยังไม่เบิกกว้างให้ธรรมชาตินี้แสดงตัวออก พอเราสร้างเหตุคือคุณงามความดี "มีการภาวนาเป็นต้นขึ้นมารองรับ สิ่งที่เคยสั่งสมมาที่เรียกว่าอุปนิสัยนี้ก็จะแสดงตัวออกมาทันที"
"อุปนิสัย" นี้จะเกิดขึ้นมาได้ "ด้วยจากการให้ทาน การรักษาศีล การเจริญเมตตาภาวนาและคุณงามความดีประเภทต่าง ๆ ทั้งหลายนั่นแหละเป็นเครื่องหนุน" หนุนเข้าไป ๆ มากเข้า ๆ หนุนขึ้นสูงขึ้น
พอเต็มที่แล้วมองดูอะไร ๆ ที่ไหน ๆ ก็จะเป็นเครื่องสร้างความกังวลไปหมด "เป็นเหตุสร้างความวุ่นวายไปหมด นั่นก็เพราะอำนาจแห่งบุญแห่งกุศลความดีพอแล้ว จึงทำให้เห็นเป็นอย่างนั้น"
มองดูอะไร ๆ ดูวุ่นวาย ดูยุ่งไปหมดทุกอย่าง ดูคับแคบตีบตันไปหมด "ไม่ยุ่งแต่ทางที่จะออกปฏิบัติธรรมเพื่อความพ้นทุกข์โดยถ่ายเดียวนั่นล่ะ" ออกเลยนั่นอย่างนั้นล่ะนะ
"นี่อุปนิสัยมันแก่แล้ว มันจะแก่อย่างนั้นได้ก็มาจากการสร้างคุณงามความดีเรื่อย ๆ มานี่แหละ" สร้างไม่หยุดไม่ถอย สร้างไป ๆ เพิ่มเข้าไป ๆ... -
อานิสงส์ของกฐินสำคัญที่สุดตรงผ้าไตร
ในส่วนของงานกฐินนั้น ที่สำคัญอีกอย่างก็คือผู้ครองผ้ากฐิน ถ้าว่ากันโดยพระธรรมวินัยแล้ว ท่านให้บุคคลที่มีจีวรเก่าที่สุดในวัดได้ผ้านั้นไป แต่ว่าระยะหลัง ส่วนใหญ่เจ้าอาวาสมักจะเป็นผู้ครองผ้ากฐิน
เหตุที่เป็นเช่นนั้นเพราะ บางท่านถือว่าผู้ครองกฐินจึงมีสิทธิ์ที่จะรับบริวารกฐินทั้งหมด ผู้อื่นไม่มีสิทธิ์รับ เจ้าอาวาสก็เลยมักจะครองกฐินเสียเอง แต่ความจริงแล้วเป็นการเข้าใจผิด เพราะว่าบางวัดมีพระไม่ครบ ๕ รูป ไม่สามารถที่จะรับกฐินได้ ต้องไปยืมพระวัดอื่นมา
การไปยืมพระวัดอื่นมานั้น พระวัดอื่นที่มานั้น ไม่มีสิทธิ์ไม่มีส่วนในกฐินนั้นทั้งสิ้น ให้เฉพาะบุคคลที่จำพรรษาในวัดนั้นเท่านั้น ดังนั้น...จึงมีการเข้าใจผิดกันว่า ถ้าไม่ครองกฐินแล้วจะไม่มีโอกาสได้รับบริวารกฐิน ซึ่งก็คือไม่มีสิทธิ์รับเงิน ก็ขอให้เข้าใจให้ถูกเสียใหม่
สำหรับวัดท่าขนุนของเรานั้น ครองกฐินกันไปตามอายุพรรษา ก็คือถ้าปีนี้ไปถึงใคร ปีหน้าท่านถัดไปก็จะรู้เองว่าถึงคิวของตนเองครองกฐินแล้ว สำหรับผู้ครองกฐินนั้นต้องรับภาระหนัก เพราะว่าต้องเป็นผู้รักษาผ้าครองแทนพระทั้งวัด ในเมื่อเป็นผู้รักษาผ้าครองแทนพระทั้งวัด...
หน้า 7 ของ 417