คลังเรื่องเด่น
-
"กิเลส คือตัวมหาเหตุ" (หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน)
.
"กิเลส คือตัวมหาเหตุ"
" .. ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง "ลงในใจคือมหาเหตุ" แหมปึ๋งเลยเทียว "คือกิเลสเป็นตัวมหาเหตุครอบธรรมเอาไว้" ไม่ให้ธรรมปรากฏเลย มีแต่กิเลสเรืองอำนาจตลอดเวลา
"ไปที่ไหนจึงมีแต่เรื่องราวยุ่งเหยิงวุ่นวาย หาความสงบไม่ได้" ไม่อยู่ในชาติชั้นวรรณะฐานะใด ๆ ทั้งนั้น "กิเลสเหยียบหมด มันเป็นเจ้าอำนาจครอบหมด" ให้ยุ่งด้วยกันหมดนั้นแหละ
คนมีคนจน คนโง่คนฉลาด ก็ว่าไปอย่างนั้น "กิเลสมันฉลาดเหนือทุกอย่างแล้วครอบไปหมด" สิ่งเหล่านี้จึงไม่มีความหมาย "กิเลสเหยียบไปหมด จึงเรียกว่ามหาเหตุ"
ที่นี่เวลาพระพุทธเจ้าสอนแล้วบอกวิธีการที่จะดับมหาเหตุ "ให้เป็นน้ำดับไฟ คือสอนวิธีให้สงบใจ" ท่านทั้งหลายยังเข้าใจว่า "การอบรมจิตตภาวนาเป็นเรื่องเล็กน้อยอยู่เหรอ" นี้เป็นเรื่องใหญ่โต "จะระงับดับมหาเหตุนี้ได้เพราะจิตตภาวนาเท่านั้น" นอกนั้นไม่มี "อันนี้เป็นสำคัญมาก นี่ละที่ว่ามหาเหตุ" .. "
(หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน) -
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันอังคารที่ ๑๘ มีนาคม ๒๕๖๘
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันอังคารที่ ๑๘ มีนาคม ๒๕๖๘ -
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันจันทร์ที่ ๑๗ มีนาคม ๒๕๖๘
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันจันทร์ที่ ๑๗ มีนาคม ๒๕๖๘ -
บันทึกการเดินทาง "ญี่ปุ่นเมื่อซากุระบาน"
บันทึกการเดินทาง "ญี่ปุ่นเมื่อซากุระบาน"
วันอาทิตย์ที่ ๑๖ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๖๘
สามทุ่มเดินทางไปท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิ
นัดพบหน้าอำเภอ เอ๊ย..หน้าประตู ๗
สแกนพาสปอร์ตไม่ผ่านตามเคย
ต้องอาศัยเคาน์เตอร์เช็คอิน
รูปหมู่ที่ขาดคนถ่าย
ไป fast track
ช้าอิ๊บอ๋าย..!
กลายเป็นช้ากว่าช่องทางปกติ
รวมพลแล้วไปทางออกขึ้นเครื่อง
ลงไปเข้า "เล้า"
ของกินเพียบ แต่..เอิ่มมม..! -
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันอาทิตย์ที่ ๑๖ มีนาคม ๒๕๖๘
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันอาทิตย์ที่ ๑๖ มีนาคม ๒๕๖๘ -
"พระโสดาบัน" (หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี)
.
"พระโสดาบัน"
" .. "พระโสดาบัน แปลว่า ผู้ตกกระแสพระนิพพานแล้ว" แต่ยังไม่ทันถึงพระนิพพาน "เหมือนกับคนเดินทางไปสู่พระนครอันสุขเกษม ถึงต้นทางแล้ว แต่ยังไม่ทันถึงพระนคร" ฉะนั้นและ "เมื่อถึงพระโสดาบันแล้ว กิเลสทั้ง ๓ กองนี้จะต้องละได้ด้วยตนเอง" คือ ..
- "สักกายทิฏฐิ" ถือว่าอันนี้เป็นของตัวเที่ยงแท้แน่นอน ถือรั้นจนเกิดทิฏฐิ ๑
- "วิจิกิจฉา" ลังเลสงสัยในคุณพระรัตยตรัย ไม่แน่นอนว่า เป็นที่พึ่งอันแท้จริง ๑
- "สีลัพพตปรามาส" ลูบคลำในสิ่งที่ไร้สาระประโยชน์ เชื่อสิ่งอื่นโดยไม่ตรึกตรองให้ถี่ถ้วน ๑
"กิเลสทั้ง ๓ กองนี้ ผู้ทำสมาธิให้มั่นคงแล้ว ย่อมเกิดปัญญาเห็นชัดในพระไตรลักษณญาณ เห็นแจ้งด้วยปัญญาว่า สิ่งทั้งสามนั้นเป็นของไร้สาระประโยชน์ ไม่มีแก่นสาร แล้วละได้" .. "
"มณฑปอนุสรณ์แห่งวัดหินหมากเป้ง"
พระนิโรธรังสี คัมภีรปัญญาจารย์
(หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี) -
ลมหายใจในแต่ละฌาน / พระราชพรหมยาน(หลวงพ่อฤาษีฯ)วัดท่าซุง
ลมหายใจในแต่ละฌาน / พระราชพรหมยาน(หลวงพ่อฤาษีฯ)วัดท่าซุง
ที่มา https://www.youtube.com/@Putta-Channel -
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันเสาร์ที่ ๑๕ มีนาคม ๒๕๖๘
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันเสาร์ที่ ๑๕ มีนาคม ๒๕๖๘ -
ต้องล้างตัวเองก่อน จึงจะแผ่เมตตาสำเร็จ
ต้องล้างตัวเองก่อน จึงจะแผ่เมตตาสำเร็จ
ที่มา https://www.youtube.com/@emperor5979 -
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันศุกร์ที่ ๑๔ มีนาคม ๒๕๖๘
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันศุกร์ที่ ๑๔ มีนาคม ๒๕๖๘ -
"ความลับของหลวงปู่ตื้อ" (หลวงปู่สิม พุทธาจาโร)
.
"ความลับของหลวงปู่ตื้อ"
" .. ในปี พ.ศ. ๒๕๑๖ หลวงปู่ตื้อ อจลธฺมโม สหายรักของหลวงปู่ฯ (หลวงปู่สิม พุทธาจาโร) ได้บอกอำลา ในคราวที่หลวงปู่ไปเยี่ยมท่านที่อำเภอสันกำแพงว่า ..
"ผมจะขอลาท่านกลับบ้านเกิด จะเอาสังขารไปทิ้งที่นั่น คงไม่ได้กลับมาเชียงใหม่อีก ผมมีความลับจะบอกท่านอยู่เรื่องหนึ่ง ผมรักษาเอาไว้ ๓๔ ปีนี่แล้ว"
เมื่อครั้งหลวงปู่มั่นยังอยู่เชียงใหม่ ก่อนท่านจะกลับไปอุดรธานี "ท่านได้พยากรณ์ไว้ว่า ศิษย์รุ่นต่อไป ที่จะมีชื่อเสีบงโด่งดัง คือท่านสิมฯ (หลวงปู่สิม พุทธาจาโร) กับท่านมหาบัวฯ (หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน) นี่แหละ"
ต่อมาหลวงปู่ตื้อ "ก็ได้เดินทางกลับ(วัดอรัญญวิเวก)บ้านข่า ตำบลท่าบ่อ อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม" ที่ที่เป็นบ้านเกิดของท่าน .. "
"พุทธาจารปูชา"
(หลวงปู่สิม พุทธาจาโร) -
พุทธวิธีตั้งจิตให้มั่นขณะเจริญภาวนา | ภิกขุณีสูตร
พุทธวิธีตั้งจิตให้มั่นขณะเจริญภาวนา | ภิกขุณีสูตร
ที่มา มูลนิธิอุทยานธรรม
https://www.youtube.com/@Uttayarndham -
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันพฤหัสบดีที่ ๑๓ มีนาคม ๒๕๖๘
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันพฤหัสบดีที่ ๑๓ มีนาคม ๒๕๖๘ -
คาถาเป็นพื้นฐานของอภิญญา
ใครก็ตามที่ทำพระคาถาเงินล้านเป็นกรรมฐานอย่างสม่ำเสมอ ความข้องขัดในการดำเนินชีวิตจะมีน้อยกว่าคนอื่นเขา ขอยืนยันคำว่าจริงจังและสม่ำเสมอ เพราะว่าเรื่องคาถาเป็นพื้นฐานของอภิญญา คนจะเป็นอภิญญาได้จะต้องมีความจริงจังและสม่ำเสมอ ไม่ใช่ทำ ๆ ทิ้ง ๆ เมื่อท่านทั้งหลายได้ทำจริงจังและสม่ำเสมอ โดยเฉพาะทำในจำนวนที่มาก อย่างเช่นว่าอาจจะภาวนาวันละ ๑๐๘ จบ เป็นต้น ก็จะมีความสะดวกคล่องตัวกว่าคนอื่นเขา
การท่องใช้วิธีท่องอย่างช้า ๆ โดยจับลมหายใจภาวนาไปด้วย เป็นการเน้นคุณภาพ ไม่ใช่จ้ำ ๆ ให้จบไป สักแต่ว่าเอาปริมาณ เรื่องของคาถาถ้าทำด้วยความเคารพ จริงจังและสม่ำเสมอแล้ว ไม่เกิน ๒ เดือนผลก็จะเกิดขึ้น
....................................
พระครูวิลาศกาญจนธรรม, ดร. วัดท่าขนุน
www.watthakhanun.com -
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันพุธที่ ๑๒ มีนาคม ๒๕๖๘
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันพุธที่ ๑๒ มีนาคม ๒๕๖๘ -
"วิธีทำกัมมัฏฐาน" (หลวงปู่ขาว อนาลโย)
.
"วิธีทำกัมมัฏฐาน"
" .. "พระพุทธเจ้าท่านสอนให้เราถือศีลก่อน ศีลทำให้กาย วาจาสงบ แล้วจึงทำสมถภาวนาให้จิตใจสงบ" ครั้นภาวนาจนจิตสงบสงัดดีแล้ว "ก็ใช้ปัญญาคิดค้นคว้าสกนธ์กายนี้ เรียกว่าทำกัมมัฏฐาน"
พระพุทธเจ้าว่า "ธรรมะไม่อยู่ที่อื่น อยู่ที่สกนธ์กายของทุกคน" คนหมดทุกคนก็แม่นธรรมหมดทั้งก้อน "แม่นก้อนธรรมหมดทุกคน พระพุทธเจ้าว่าธรรมไม่อยู่ที่อื่น" ไม่ต้องไปหาที่อื่น "มันอยู่ในสกนธ์กายของตนนี้" ดูจิตใจของตนนี้ให้มันเห็นความจริงของมัน .."
คัดลอกจากหนังสือ "อนาลโยวาทะ"
(หลวงปู่ขาว อนาลโย)
จัดพิมพ์เป็นธรรมทาน โดย นพ. อวย – ส่งศรี เกตุสิงห์ -
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันอังคารที่ ๑๑ มีนาคม ๒๕๖๘
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันอังคารที่ ๑๑ มีนาคม ๒๕๖๘ -
พระสุนทรีนันทาเถรี | ผู้เลิศของภิกษุณีทั้งหลายผู้ได้ฌาน/เอตทัคคะ
พระสุนทรีนันทาเถรี | ผู้เลิศของภิกษุณีทั้งหลายผู้ได้ฌาน #เอตทัคคะ
ที่มา มูลนิธิอุทยานธรรม
https://www.youtube.com/@Uttayarndham -
พระคาถาชินบัญชร
พระคาถาชินบัญชร
รากศัพท์ของคำว่า "คาถา" มาจากภาษาบาลีว่า "กถา" แปลว่า "วาจาเป็นเครื่องกล่าว" ดังนั้น...คำพูดของคนเราทุกคำก็คือคาถาทั้งสิ้น แต่คาถาในความเข้าใจของทุกคน ไม่ใช่ความหมายเช่นนั้น...
คาถาที่เรารู้จักคือถ้อยคำอันศักดิ์สิทธิ์ ที่สามารถแสดงผลอันวิเศษแก่ผู้ที่ยึดถือท่องบ่น ในบรรดาคาถาที่ท่านผู้รู้ผูกขึ้นมานั้น พระคาถาชินบัญชรของสมเด็จพุฒาจารย์โต หรือหลวงพ่อโต วัดระฆัง นับว่าแพร่หลายที่สุด... คาถาชินบัญชรนี้เพียบพร้อมไปด้วยอรรถ และฉันทลักษณ์ ทั้งยังคงความเข้มขลังศักดิ์สิทธิ์เป็นที่ยิ่ง พระเครื่องสมเด็จวัดระฆังที่ลือลั่นสนั่นเมือง ก็ปลุกเสกด้วยคาถานี้เอง... แต่ว่า...พระคาถาชินบัญชรนี้ก็ยังมีแปลกแตกต่างไปหลายฉบับ บางฉบับก็เพิ่มมาหนึ่งบท บางฉบับก็หดหายไปสองบรรทัด คาถาบางตัวก็ผิดเพี้ยนกันไป แต่นั่นไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร...
ความศักดิ์สิทธิ์ของคาถานั้น ขึ้นอยู่กับสมาธิจิตของผู้ท่องบ่น ต่อให้คาถาผิดพลาดเพียงไรก็ตาม หากจิตเป็นสมาธิแนบแน่นมั่นคงเสียแล้ว ผลก็เป็นไปตามการอธิษฐานทุกประการ... หากท่านผู้อ่านตัดความตะขิดตะขวงใจในตัวคาถาเสีย ตั้งใจท่องบ่นอย่างจริงจัง... -
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันจันทร์ที่ ๑๐ มีนาคม ๒๕๖๘
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันจันทร์ที่ ๑๐ มีนาคม ๒๕๖๘ -
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันอาทิตย์ที่ ๙ มีนาคม ๒๕๖๘
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันอาทิตย์ที่ ๙ มีนาคม ๒๕๖๘ -
ร้อยโทตายแล้วฟื้น หมอเอาศพไปไว้ห้องดับจิต ในหลวงเสด็จมาทอดพระเนตร ท่านตรัสว่า "เขายังไม่ตาย"
ที่มา ช่องยูทูบนิมิตพิศวง -
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันเสาร์ที่ ๘ มีนาคม ๒๕๖๘
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันเสาร์ที่ ๘ มีนาคม ๒๕๖๘ -
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันศุกร์ที่ ๗ มีนาคม ๒๕๖๘
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันศุกร์ที่ ๗ มีนาคม ๒๕๖๘ -
"ที่เกิด ที่ดับแห่งธรรม" (หลวงปู่ดูลย์ อตุโล)
.
"ที่เกิด ที่ดับแห่งธรรม"
" .. การปฏิบัติธรรม ไม่จำเป็นต้องเดินทางไปไหน "ในเมื่อกายยาว ๑ วา หนา ๑ คืบ นี้แลเป็นตัวธรรม เป็นตัวโลก เป็นที่เกิดแห่งธรรม เป็นที่ดับแห่งธรรม" เป็นที่ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้อาศัยบัญญัติไว้ซึ่งธรรมทั้งปวง
"แม้ใครใคร่จะปฏิบัติธรรม ก็ต้องปฏิบัติที่กายและใจนี้ หาได้ปฏิบัติที่อื่นไม่" ดังนั้น ถ้าตั้งใจจริงแล้ว "นั่งอยู่ที่ไหน ธรรมก็เกิดที่ตรงนั้น นอนอยู่ที่ไหน ยืนอยู่ที่ไหน เดินอยู่ที่ไหน ธรรมก็เกิดที่ตรงนั้น" .. "
พระราชวุฒาจารย์ (หลวงปู่ดูลย์ อตุโล) -
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันพฤหัสบดีที่ ๖ มีนาคม ๒๕๖๘
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันพฤหัสบดีที่ ๖ มีนาคม ๒๕๖๘ -
เราต้องหาประโยชน์จากสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในด้านธรรมะให้ได้
สิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น เราต้องหาประโยชน์ในด้านธรรมะให้ได้ หลักการสำคัญที่สุดก็คือ อะไรจะเกิดขึ้นก็ตาม เราต้องรักษาความผ่องใสของใจเอาไว้ให้ได้ อย่าได้หวั่นไหวไปกับสิ่งต่าง ๆ รอบข้าง อะไรที่ดีเกิดขึ้นกับเรา จิตใจก็อย่าฟูมากนัก อะไรที่ร้ายเกิดขึ้นกับเรา ก็อย่าห่อเหี่ยวแฟบฟุบมากจนเกินไป รักษาสภาพจิตของเราให้มั่นคง แน่วนิ่ง ไม่หวั่นไหว ไม่ยินดีและไม่ยินร้าย ถ้าทำอย่างนั้นได้โอกาสที่เราจะหลุดพ้นจากกองทุกข์นี้จึงจะมีขึ้นมาได้
...................................
พระครูวิลาศกาญจนธรรม, ดร. วัดท่าขนุน
www.watthakhanun.com -
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันพุธที่ ๕ มีนาคม ๒๕๖๘
เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันพุธที่ ๕ มีนาคม ๒๕๖๘
หน้า 2 ของ 421