เรื่องเด่น ประโยชน์ของการสวดมนต์ ไหว้พระ

ในห้อง 'บทสวดมนต์ - คาถา' ตั้งกระทู้โดย MonYP, 9 กุมภาพันธ์ 2018.

  1. MonYP

    MonYP เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,370
    กระทู้เรื่องเด่น:
    32
    ค่าพลัง:
    +768
    shutterstock_170428559.jpg
    ประโยชน์ของการสวดมนต์ ไหว้พระ


    ๑. จะทำให้ระลึกถึงคุณความดีของพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ให้มีความรู้สึกละอายแก่ใจและเกรงกลัวต่อการทำชั่ว ถ้าสวดมนต์พร้อมคำแปลจะทำให้เข้าใจคำสอนไปด้วย

    ๒. เป็นการฝึกสมาธิ คือ ให้ใจมีความสงบตั้งมั่นอยู่กับคำสวดมนต์อย่างต่อเนื่อง

    ๓. ฝึกให้มีสติ เห็นหรือรู้เท่าทันอาการของจิต หรือกิริยาของจิต หรือพฤติแห่งจิตที่แสดงออกมาเป็นความคิด นึก ตรึก ตรอง ปรุงแต่งและอารมณ์ต่างๆ แทรกคำสวดมนต์เป็นระยะๆ

    ๔. มีปัญญาเห็นว่า ถ้าขาดสติเผลอเพลินติดไปกับความคิด นึก ตรึก ตรอง ปรุงแต่งอารมณ์ต่างๆ เหล่านั้นก็จะทำให้ลืมคำสวดมนต์และจะทำให้เกิดทุกข์ ถ้ามีสติ สมาธิ ปัญญารู้เท่าทัน ก็จะไม่เผลอเพลินติดไปกับสิ่งใดให้ใจเป็นทุกข์ เรียกว่า เห็นอริยสัจจ์

    ๕. ฝึกสติ สมาธิ ปัญญา รู้คำสวดมนต์ควบคู่ไปกับรู้ความ คิด นึก ตรึก ตรอง ปรุงแต่งและอารมณ์ต่างๆ ที่เกิดแทรกคำสวดมนต์ได้ทุกความคิดอย่างต่อเนื่อง โดยรู้อยู่กับที่ไม่เผลอเพลินติดไปเลย แล้วจะรู้หรือเห็นจิตที่คิด นึก ตรึก ตรอง ปรุงแต่ง และอารมณ์ต่างๆ นั้นเกิดขึ้นดับไปๆ ๆ เป็นการเห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา จะทำให้ไม่ขาดสติเผลอเพลินติดไปกับความรู้สึก นึก คิด ตรึก ตรอง ปรุงแต่งและอารมณ์ใดเลย ก็จะพ้นทุกข์

    ต่อไปในชีวิตประจำวัน เมื่อทำงานก็ฝึกให้มีสมาธิอยู่กับการทำงานหรือเคลื่อนไหวอิริยาบถต่างๆ ของร่างกาย เช่น การเดิน การนั่ง แทนคำสวดมนต์ พร้อมกับมีสติปัญญารู้หรือเห็นจิตที่นึก คิด ตรึก ตรอง ปรุงแต่งแทรกการทำงาน หรือการเคลื่อนไหวอิริยาบถต่างๆ ของร่างการเกิดดับในขณะปัจจุบันตลอดเวลา ครั้นเมื่อว่างจากการทำงานหรือกิจกรรมที่ทำ ก็ให้มีสมาธิอยู่กับคำสวดมนต์พร้อมกับมีสติปัญญารู้หรือเห็นจิตที่คิด นึก ตรึก ตรอง ปรุงแต่งแทรกคำสวดมนต์เกิดดับในขณะปัจจุบันนั้นตลอดเวลา ถ้าฝึกได้ดั่งนี้ก็จะเป็นผู้มีสติ สมาธิ ปัญญา อย่างต่อเนื่องไม่เผลอเพลินขาดสติให้ใจไปเกาะเกี่ยวสิ่งใดจนเป็นทุกข์

    ข้อสังเกต

    ถ้ารู้เรื่องที่คิดไม่ใช่รู้จิตหรือรู้ใจ แต่รู้ธรรมารมณ์ คือ สิ่งใดหรือเรื่องราวใดๆ ที่จิตหรือใจคิดไปถึง และแสดงว่าเพลินใจติดไปกับความคิดนั้นแล้ว แต่ถ้ารู้จิตที่แสดงอาการคิด ซึ่งเป็นความไหวตัวหรือกระเพื่อมตัวของจิต เรียกว่ารู้จิตหรือเห็นจิตที่แสดงอาการ หรือแสดงกิริยา หรือแสดงพฤติแห่งจิต

    แต่ในการฝึกตอนแรกๆ จะรู้เรื่องที่คิดยาวๆ ก่อน ต่อไป เมื่อรู้ตัวเร็วขึ้น เรื่องที่คิดก็จะสั้นลงไปเรื่อยๆจนถึง “ใจ” ซึ่งเป็นต้นจิตที่คิด ที่แสดงกิริยา หรือแสดงอาการ หรือความคิด นึก ตรึก ตรอง ปรุงแต่งและอารมณ์ต่างๆ ล้วนออกมาจาก “ใจ” ซึ่งเรียกว่า ต้นจิต หรือ จิตต้น จึงทำให้มีสติปัญญาตั้งที่ใจ รู้อยู่ที่ใจ หรือรู้อยู่กับที่ที่ใจ ก็สามารถรู้ตั้งแต่คิด หรือต้นจิตที่แสดงกิริยาหรืออาการคิด

    ต่อจากนั้นก็ฝึกสติปัญญาให้รู้ตั้งแต่ต้นจิตหรือต้นคิดอย่างต่อเนื่องไม่ขาดสาย โดยให้รู้ควบคู่กับสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่ใช้เป็นเครื่องล่อจิตตลอดเวลา เช่น รู้ควบคู่กับคำสวดมนต์ หรือคำบริกรรมหรือลมหายในข้าออก หรืออิริยาบถของกาย หรืองานที่กำลังทำอยู่ ก็จะไม่ขาดสติเผลอเพลินไปกับสิ่งใดให้ใจเป็นทุกข์

    ธรรมะบูชา DhammaBoocha

    ขอขอบคุณ

    - หนังสือ “ปฏิบัติธรรม” เล่มที่ ๑ โดย ชมรมผู้ปฏิบัติธรรม สำนักงานศาลยุติธรรม

    - ภาพประกอบสวยๆ จาก Internet ที่ช่วยเพื่อเพิ่มสีสันของบทความ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 9 กุมภาพันธ์ 2018
  2. น้องนกลาบ ชื่อนี้สีชมพู

    น้องนกลาบ ชื่อนี้สีชมพู ค ว า ม ต า ย คื อ ก า ร เ ริ่ ม ต้ น ข อ งชี วิ ต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2017
    โพสต์:
    176
    ค่าพลัง:
    +156
    หนูไม่ได้สวดมนต์มานานแล้ว
    ชีวิตดูยุ่งเหยิง ใจร้อน หงุดหงิดง่ายไงไม่รู้ค่ะ
    จะสวดก็ง่วง อ่านหนังสือดึก ไม่ไหวจริงๆ ค่ะ :oops:
    ปิดเทอมคงได้กลับมาสวดใหม่
     
  3. mrmos

    mrmos Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 ตุลาคม 2016
    โพสต์:
    1,190
    ค่าพลัง:
    +1,101
    sa377.jpg
     

แชร์หน้านี้

Loading...